การเปิดใช้งาน System Protection,สร้าง restore point

System Protection คือ ฟีเจอร์นึงของ Windows ที่ให้เราสามารถใช้ย้อนระบบกลับไปขณะที่ระบบยังเป็นปกติ หากระบบของเราเกิดมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมา ซึ่งในบางครั้งช่วยให้เราไม่ต้องติดตั้งระบบทั้งระบบ ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีมาก ๆ ครับ และนอกจากจะใช้แก้ปัญหากับตัวระบบแล้วยังสามารถนำมาจัดการกับเอกสารเราได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลทับไฟล์ หรือ ใช้กู้ไฟล์กรณีเผลอลบหรือลบไฟล์ผิด แต่ทั้งนี้ก็ต้องตรวจสอบดูก่อนนะครับว่า System Protection นั้นเปิดใช้งานอยู่หรือไม่

โดยที่ System Protection นี้จะทำงานบนไฟล์ระบบแบบ NTFS เท่านั้นครับ ไม่รองรับระบบไฟล์แบบ FAT และ FAT32 บทความนี้ผมจะมาแนะนำการเปิด – ปิด System Protection การสร้าง restore point และการ restore กับไปยัง restore point ที่เราสร้างไว้

เริ่มต้นการการเปิดใช้งาน System Protection กันเลยครับ

1. คลิกขวาที่ไอคอน Computer หรือ This PC ถ้าใช้งาน Windows 10 แล้วเลือก Properties

2. คลิกเลือก System protection ดังภาพด้านล่าง

การเปิดใช้งาน System Protection และการสร้าง restore point

3. ที่หน้าต่าง System Properties ไปที่แท็บ System Protection

การเปิดใช้งาน System Protection และการสร้าง restore point

4. คลิกเลือกไดร์ฟที่ต้องการเปิดใช้งาน System Protection และคลิกปุ่ม Configure…

5. คลิกเลือก Turn on system protection และตัวเลือก Disk Space Usage เราสามารถจำกัดการใช้งานพื้นที่ให้ของระบบ System Protection ได้ด้วยการกำหนดที่ Max Usage

system protection เลือก Turn on system protection และตัวเลือก Disk Space Usage
*ถ้าเลือก Disable system protection หรือปิด จะทำให้ restore point ที่สร้างไว้ถูกลบทิ้งไปทั้งหมดนะครับ

6. เมื่อกำหนดค่าต่าง ๆ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม OK

7. เมื่อกลับมาที่หน้า System Properties เราก็สามารถคลิกที่ปุ่ม Create… เพื่อที่สร้าง restore point ด้วยตัวเองได้แล้ว เพียงแค่คลิกปุ่ม Create… แล้วตั้งชื่อและคลิกปุ่ม Create และรอสักพัก

การเปิดใช้งาน System Protection และการสร้าง restore point

8. หลังจากที่เราสร้าง restore point แล้ว เราจะทำการ restore เครื่องเรายังไง ไม่ยากครับเพียงแค่คลิกทีปุ่ม System restore… => คลิก Next => จากนั้นก็เลือก restore point ที่เราต้องการโดยดูจากชื่อหรือวันเวลา แล้วคลิกปุ่ม Next และทำตามชั้นตอนไปเรื่อย ๆ ครับ

การเปิดใช้งาน System Protection และการสร้าง restore point

สำหรับบทความการแนะนำการเปิด – ปิด System Protection และการใช้งานเบื้องต้นก็ขอจบแค่นี้ครับ ไว้บทความหน้าจะมาแนะนำการใช้งาน System Protection ในการกู้ไฟล์เอกสารที่ลบบันทึกทับหรือ save ทับ และการกู้ไฟล์ที่โดนลบไปด้วย System Protection

ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์รบกวนกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะครับ และถ้าต้องการติดตามอ่านบทความของเราอย่างต่อเนื่องก็สามารถติดตามได้ที่เพจครับ Facebook.com/sara2udotcom